- Joined
- Jul 25, 2016
- Messages
- 2,246
MSI Creator Z16 โน๊ตบุ๊คสำหรับครีเอเตอร์ที่ทั้งสเปคและองค์ประกอบคุ้มค่าไม่แพ้ใคร

โน๊ตบุ๊คสำหรับครีเอเตอร์อย่าง MSI Creator Z16 นั้น แม้หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ราคาค่อนข้างสูง แต่จริงๆ
แล้วสิ่งที่ได้มาจากการจ่ายเงินซื้อโน๊ตบุ๊คราคา 76,990 บาทมาใช้นั้น ถือว่าคุ้มค่าด้วยสเปคที่เอื้อกับการทำงานหลายอย่างทั้งหน้าจอ True Pixel ที่เป็น Golden Ratio
อัตราส่วน 16:10 ขอบเขตสีกว้างและแม่นยำหรือแม้แต่ไดรเวอร์ NVIDIA Studio ซึ่งเป็นไดรเวอร์แบบที่ NVIDIA Optimize ให้ทำงานกับโปรแกรมสายครีเอทีฟต่างๆ
ได้เป็นอย่างดีและเสถียรกว่าไดรเวอร์ทั่วไปของ NVIDIA อีกด้วย
ส่วนของการทำงานเรียกว่าแรงหายห่วง เพราะ MSI ให้สเปคมาแบบไม่กั๊กระดับเทียบชั้นกับโน๊ตบุ๊คครีเอเตอร์จากคู่แข่งได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
สามารถเรนเดอร์วิดีโอความละเอียดสูงระดับ 4K หรือใช้ Adobe Photoshop ที่ซ้อนงานกันหลายเลเยอร์ได้สบายๆ ด้วยซีพียูเริ่มต้นมาก็เป็น
Intel Core i7-11800H กับการ์ดจอ NVIDIA GeForce RTX 3060 และแรม 32GB ที่เรียกว่าให้มาเพียงพอต่อการทำงานกราฟฟิคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา

นอกจากนี้ ดีไซน์ตัวเครื่องก็ให้ความพรีเมี่ยมหรูหราเพราะเป็นบอดี้อลูมิเนียม CNC ปัดเงา ตัวเครื่องแข็งแรงงานประกอบแน่น
คงเอกลักษณ์ของ MSI อย่างคีย์บอร์ดไฟ RGB ที่หลายคนชื่นชอบและลำโพงที่จูนเสียงด้วย Dynaudio พร้อมซอฟท์แวร์จาก
Nahimic ซึ่งเรียกว่าครีเอเตอร์ไม่ว่าจะสายอาร์ตเวิร์คหรือทำเพลง โน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ก็ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
NBS Verdict

ถ้าใครเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์, ฝ่ายศิลป์ประจำออฟฟิศ หรือแม้แต่คนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับงานศิลป์และสีสันต่างๆ
แต่กำลังหาโน๊ตบุ๊คที่จัดการงานเหล่านี้ได้ดีอยู่สักเครื่อง MSI Creator Z16 เครื่องนี้ถือเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับครีเอเตอร์ที่ดีอีกรุ่นซึ่งไม่ควรมองข้าม
เพราะสเปคที่เรียกว่าให้มาแบบจัดเต็มพร้อมทำงานได้ทันที ออกแบบอัตราส่วนหน้าจอเป็น 16:10 ซึ่งเป็น Golden Ratio
ขอบเขตสีกว้างและแม่นยำ ไว้ใจตอนทำงานอาร์ตต่างๆ ได้อย่างแน่นอน
นอกจากนี้เรื่องดีไซน์และฟีเจอร์เสริม ก็เรียกว่าให้มาแบบไม่กั๊ก เช่นระบบสแกนใบหน้าและนิ้วมือเพื่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของตัวผู้ใช้เอง,
หน้าจอสัมผัสที่ใช้แตะเลือกสิ่งต่างๆ บนหน้าจอได้ง่าย ให้ลำโพงปรับจูนเสียงด้วย Dynaudio
มีซอฟท์แวร์ปรับเสียง Nahimic ติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน และเอกลักษณ์ประจำโน๊ตบุ๊คของ MSI หลายๆ รุ่น อย่างคีย์บอร์ดพร้อมไฟ RGB ให้ความสวยงาม ปรับแสงได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามจุดสังเกตที่ต้องเตรียมใจอยู่บ้าง คือเมื่อเปิดโปรแกรมต่างๆ
ขึ้นมาใช้แล้วพัดลมระบายความร้อนจะทำงานแทบจะทันทีและมีเสียงพัดลมชัดเจน และที่ตัวเครื่องจะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อหน้าจอโดยตรงอย่าง HDMI
หรือ mini DisplayPort ดังนั้นถ้าใครต้องการต่อหน้าจอเสริมเอาไว้ใช้งานด้วย
แนะนำให้หาสายเชื่อมต่อหน้าจอหรือ USB-C Multiport adapter มาต่อกับพอร์ต Thunderbolt 4 ด้วยจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้
ส่วนของการอัพเกรดเรียกว่าทำได้ยากมากรุ่นหนึ่ง เนื่องจากตัวเครื่องประกอบมาดีและแน่นหนาซึ่งเป็นเรื่องดี
แต่สำหรับคนที่ต้องการอัพเกรดเพิ่มแรมหรือ SSD ให้เป็นรุ่นใหม่ก็จะทำได้ยากมาก ควรยกไปให้ทางศูนย์บริการจัดการให้จะดีที่สุด
จุดเด่นของ MSI Creator Z16
- ซีพียู Intel Core i7-11800H แบบ 8 คอร์ 16 เธรด ประสิทธิภาพสูงพร้อมใช้ทำงานกับโปรแกรมที่กินทรัพยากรเครื่องหนักๆ ได้ดี
- สเปคโดยรวมถือว่าคุ้มค่าตัว ได้แรม 32GB, M.2 NVMe SSD 1TB มาให้ ไม่ต้องอัพเกรดก็ได้
- ไดรเวอร์ของการ์ดจอเป็น NVIDIA Studio ที่ปรับแต่งมาพิเศษเพื่อใช้ทำงานโดยเฉพาะ
- หน้าจอสัมผัสใช้พาเนลคุณภาพสูงมาก ขอบเขตสีกว้าง 100% sRGB, 90% DCI-P3, Delta-E <2
- ตรงตามที่ทาง MSI เคลมประสิทธิภาพเอาไว้จริง อัตราส่วนจอ 16:10 เป็น Golden Ratio เหมาะกับการทำงานด้านครีเอเตอร์
- ติดตั้งพอร์ต Thunderbolt 4 มาให้ 2 ช่อง พร้อใช้โอนไฟล์, ต่อหน้าจอแยกหรือแม้แต่ชาร์จแบตเตอรี่ให้ตัวเครื่อง
- บอดี้ตัวเครื่องเป็นอลูมิเนียม CNC ทั้งตัว ทั้งแข็งแรงและสวยงามหรูหราเสริมบุคลิคผู้ใช้
- ลำโพงที่ปรับจูนเสียงด้วย Dynaudio ให้เสียงที่ดี ฟังเพลงได้หลากหลายแนว เบสกำลังน่าฟังไม่ล้นจนเกินไป
- มีระบบรักษาความปลอดภัยมาให้ครบครันทั้งระบบสแกนใบหน้าและลายนิ้วมือ รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้ดี
- มีขาพลาสติกติดไว้ขอบล่างหน้าจอด้านหลัง ช่วยยกตัวเครื่องขึ้นเล็กน้อยให้พิมพ์งานสะดวกและเพิ่มระยะห่างให้มีช่องดึงอากาศเข้ามาระบายความร้อนได้ดีขึ้น
- คีย์บอร์ดวางปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ เอาไว้ให้ใช้งานครบถ้วน รวมทั้งแยกปุ่มที่เอื้อการทำงานแยกเอาไว้ให้เป็นพิเศษ รวมทั้งกดสลับเป็นปุ่ม F1-F12 ได้ด้วยปุ่ม Function Lock ด้วย
- ออกแบบวางโซนชุดระบายความร้อนได้ดี


ด้านดีไซน์ตัวเครื่องของ MSI Creator Z16 นั้น จะเป็นดีไซน์เครื่องแบบเรียบง่าย บอดี้เป็นอลูมิเนียม CNC ทั้งเครื่อง
ให้สัมผัสหรูหราและแข็งแรง และโทนสีตัวเครื่องเป็นโทนสีเงินกับกรอบหน้าจอสีดำดูสวยและขรึมไปในตัว แต่ถึงจะเป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 16 นิ้ว
ก็ไม่มี Numpad ติดตั้งมาให้ โดยทาง MSI ดีไซน์ให้เป็นแบบ Tenkeyless ตรงกลางเว้นขอบซ้ายขวาของเครื่องเท่านั้น
ส่วนด้านใต้เครื่องจะเป็นฝาดีไซน์เรียบ มีขอบยางติดเอาไว้ 4 มุมของตัวเครื่องเพื่อกันบอดี้สัมผัสกับพื้นโต๊ะโดยตรงและมีช่องลมเข้า
แบบเจาะรูถี่อยู่ส่วนขอบบนของตัวเครื่อง ซึ่งในโซนนั้นจะเป็นชุดพัดลมโบลว์เวอร์และท่อฮีตไปป์นั่นเอง
ซึ่งเมื่อดึงลมเข้ามาแล้วจะระบายความร้อนออกที่ขอบข้างตัวเครื่องทั้งด้านซ้ายขวาและขอบบนที่ซ่อนอยู่เหนือคีย์บอร์ด
ส่วนการกางหน้าจอนั้น เมื่อขาบานพับหน้าจอเป็นแบบปลายขอบเครื่องที่ไม่โดนขอบด้านหลังเครื่องขวางเอาไว้
ทำให้กางหน้าจอได้ถึง 180 องศาจนราบไปกับพื้นเลย และมีปุ่ม Function ที่เอาไว้พลิกภาพบนหน้าจอกลับให้เพื่อนที่นั่งตรงข้ามมองเห็น
ได้สะดวกและเอาไปวางบนที่วางโน๊ตบุ๊คก็ปรับองศาได้สะดวกกว่าโน๊ตบุ๊คแบบทั่วๆ ไปมาก แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้หาที่วางโน๊ตบุ๊ค
ที่ออกแบบมารองรับน้ำหนักเครื่องได้ระดับ 17.3 นิ้ว เอาไว้ด้วย จะได้รับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดีด้วย

ส่วนของทัชแพดที่ติดตั้งเอาไว้ขอบล่างของตัวเครื่องจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวกว้าง เดินขอบด้วยเส้นสีเงินซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้
ส่วนการทำงานถือว่าตอบสนองได้ดีตามปกติและรองรับ Gesture Control ของ Windows 10 เช่นกัน
ซึ่งแป้นทัชแพดนี้สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาใดๆ และใช้แก้ขัดเวลาไม่ได้พกเมาส์ไปด้วยได้เลย


พอร์ตของ MSI Creator Z16 เครื่องนี้จะติดตั้งเอาไว้ที่ขอบข้างเครื่องทั้งสองฝั่งโดยแบ่งปริมาณพอร์ตเอาไว้สมดุลย์กัน โดยซ้ายและขวาจะมี
USB-A 3.2 Gen2 และ Thunderbolt 4 อย่างละช่อง แต่จะมีพอร์ตเฉพาะของแต่ละฝั่งอยู่ เช่นฝั่งซ้ายจะมีช่องหูฟัง 3.5 มม.
และฝั่งขวามือเป็น Micro SD Card Reader เหนือส่วนพอร์ตขึ้นไปจะเป็นช่องระบายความร้อนทั้งคู่
ถ้าสังเกตจะเห็นว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้จะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อหน้าจอแยกอย่าง HDMI หรือ Mini DisplayPort เลย
ถ้าใครจำเป็นต้องต่อหน้าจอแยกทำงานหลายหน้าจอควรหาสาย USB-C to DisplayPort หรือ USB-C Multiport adapter
มาต่อพ่วงออกจาก Thunderbolt 4 ด้วย ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดที่คนที่ต้องการซื้อโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ไปใช้งานต้องเตรียมตัวด้วย


สั่งซื้อได้ที่

ขอบคุณบทความต้นฉบับจาก Notebookspec